เลือดมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ
1. การลำเลียง เลือดสามารถลำเลียงสารไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย เม็ดเลือดเป็นตัวขนส่งก๊าซ น้ำเลือดประกอบด้วยสารอาหารพวกน้ำตาล ไขมัน วิตามิน กรดอะมิโนและสารอื่นๆ และเลือดยังเป็นตัวขนส่งของเสียที่ได้จากเมาตาโบลิซึมหลายอย่างไปยังอวัยวะ ขับถ่ายและขนส่งสารที่ควบคุมการทำงานของกระบวนการต่างๆ
2. การปรับสภาวะสมดุลของร่างกาย
2.1 การปรับส่วนประกอบ ของของเหลวภายในเนื้อเยื่อ ของเหลวระหว่างเซลล์และของเหลวภายในเซลล์มาจากเลือด
2.2 ในน้ำเลือดมีเกลือและโปรตีนหลายชนิด
2.3 การปรับอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่โดยมีน้ำเลือดเป็นตัวรับความร้อนที่เกิด จากกระบวนการเมตาโบลิซึม เพื่อส่งไปยังผิวหนังและปอดให้ระบายความร้อนออกจากร่างกาย
2.4 การป้องกัน เมื่อเส้นเลือดถูกทำลายจะมีการเสียเลือด และจะเกิดการะบวนการการแข็งตัวเพื่อปิดเส้นเลือด
ส่วนประกอบที่สำคัญของเลือด
1. น้ำเลือด น้ำเลือดเป็นของเหลวค่อนข้างใส มีสีเหลืองอ่อน ประกอบด้วย
1.1 น้ำประมาณร้อยละ 90 - 93 มีหน้าที่ละลายสารแขวนลอยและละลายสารต่างๆ ทำให้เกิดการมีประจุและนำความร้อน
1.2 โปรตีนประมาณร้อยละ 7 - 10 ทำให้เลือดมีความหนืดและความดันออสโมซิส ช่วยปรับปริมาตรของเลือด รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย ช่วยให้เลือดแข็งตัวเมื่อเป็นบาดแผลและพวกแอนติบอดี โปรตีนที่สำคัญคือ ไฟบริโนเจน อัลบูมิน และ โกลบูลิน
1.3 ก๊าซที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ที่สำคัญ คือ ออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์
ส่วน ประกอบของน้ำเลือดมาจากแหล่งต่างๆ เช่น น้ำและสารที่มีประจุได้มาจากการดูดซึมจากทางเดินอาหาร อัลบูมินสร้างมาจากตับ และของเสียจะได้มาจากกระบวนการเมตาโบลิซึมของทุกเซลล์ที่มีชีวิต
1.4 กลูโคส มีประมาณ 60 - 100 มิลลิกรัมใน 100 มิลลิลิตรของเลือด ทำหน้าที่เป็นแหล่งของพลังงานให้แก่เนื้อเยื่อต่างๆของ ร่างกาย
1.5 เอนไซม์ มีหน้าที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆ
ถ้านำน้ำเลือดไปปั่นเพื่อให้เซลล์เม็ดเลือด เพลตเลต และโปรตีนแยกออกจากน้ำเลือดส่วนที่เหลือจะเป็นน้ำใสๆเรียกว่า ซีรัม
น้ำ เลือดทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ย่อยแล้ว เกลือแร่ ฮอร์โมน แอนติบอดี ไปให้เซลล์ที่ส่วนต่างๆของร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยรักษาความเป็นกรด - เบส สมดุลของน้ำและรักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย
2. เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่สำคัญคือ ขนส่งก๊าซออกซิเจนไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ขนส่งคาร์บอนไดออกไซด์ไปยังปอด ถ้านำเลือดของคนเรามาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นเซลล์เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างกลมแบน ตรงกลางบุ๋มไม่มีนิวเคลียส มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7- 8 ไมโครเมตร
เม็ดเลือดแดงมีรงควัตถุสีแดงเรียกว่า เฮโมโกลบินซึ่งเป็นโปรตีนที่มีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ เฮโมโกลบินรวมตัวกับก๊าซต่างๆได้ดีมาก ถ้าไม่มีฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแล้วจะพบว่าใน 100 มิลลิลิตรของเลือดจะขนส่งออกซิเจนได้เพียง 1 มิลลิลิตร แต่ถ้ามีฮีโมโกลบินอยู่จะพบว่าใน 100 มิลลิลิตรของเลือดจะขนส่งออกซิเจนได้ถึง 20 มิลลิลิตร
ถ้าหากฮีโมโกลบินในน้ำเลือดสูงมากกว่าในเซลล์ จะมีผลเพิ่มความเข้มข้นองน้ำเลือดทำให้กระทบกระเทือนต่อสมดุลออสโมซิส ทั้งยังทำให้เลือดมีลักษณะเป็นของเหลวหนืดๆมากจนไม่สามารถสูบฉีดออกจากหัวใจ ได้ ในคนนั้นเม็ดเลือดแดงแต่ละเม็ดจะมีฮีโมโกลบินประกอบอยู่ด้วยถึง 280 ล้านโมเลกุล ฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงในคนปกติจะปล่อยอกซิเจนไปให้เซลล์ใช้ได้เพียง ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น นอกเสียจากขณะออกกำลังกายหรือทำงานหนักอาจปล่อยออกไปได้มากที่สุดถึง 72 เปอร์เซ็นต์
ก๊าซที่เป็นอันตรายต่อการที่ฮีโมโกลบินนำออกซิเจนไปให้เซลล์ใช้มากให้ภาวะ การณ์ปัจจุบันนี้เห็นจะได้แก่คาร์บอนมอนนอกไซด์ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการเผา ไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของไอเสียรถยนต์ ที่เป็นเช่นนี้เพราะก๊าซนี้จะเข้าไปแย่งออกซิเจนในการรวมตัวกัลฮีโมโกลบิน และยังเข้าไปรวมตัวอย่างถาวรโดยไม่ยอมปล่อยออกมาอย่างง่ายๆ เหมือนออกซิเจน ทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ อาการที่จะปรากฎให้เห็นคือ หูอื้อ ตามัว หมดความรู้สึกและตายในที่สุด
เซลล์เม็ดเลือดแดงมีเป็นจำนวนมากภายในร่างกาย ในผู้ชายมีประมาณ 5 ล้านเซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร แต่ผู้หญิงจะมีประมาณ 4.5 - 5 ล้านเซลล์ต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
การสร้างเม็ดเลือดแดง
ในระยะเอ็มบริโอเซลล์เม็ดเลือดแดงสร้างจากตับ ม้าม ไขกระดูก ภายหลังคลอดแล้วจะสร้างจากไขกระดูก เซลล์เม็ดเลือดแดงที่สร้างขึ้นใหม่ๆเป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสซึ่งเรียกว่า อีริโทรบลาสต์ ซึ่งสามารถสังเคราะห์ฮีโมโกลบินได้ เมื่อปริมาณของฮีโมโกลบินเพียงพอเซลล์เม็ดเลือดแดงก็ถูกปล่อยออกมาจากไข กระดูกเข้ามายังกระแสเลือด แต่เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียสและไมโทคอนเดรีย
การทำลายเม็ดเลือดแดง
เซลล์เม็ดเลือดแดงจะมีอายุประมาณ 90 - 120 วัน หลังจากนั้นจะถูกทำลายที่ม้าม แต่จำนวนของเม็ดเลือดแดงต่อลูกบาศก์มิลลิเมตรของเลือดไม่เปลี่ยนแปลงเพราะ อัตราการผลิตเท่ากับอัตราของการทำลาย คือ ประมาณ 5 - 10 ล้านเซลล์ต่อวินาที ฉะนั้นตลอดอายุของคนเราจะมีการสร้างเม็ดเลือดแดงทดแทนอยู่เสมอ โดยส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง เช่น เหล็กจะไม่ถูกกำจัดออกนอกร่างกายแต่จะนำมาสร้างเม็ดเลือดใหม่ได้อีก ผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง และมะเร็งของเม็ดเลือดขาว อัตราการสร้างเม็ดเลือดแดงจะเกิดขึ้นน้อยและไม่สมดุลกับอัตราที่ถูกทำลาย
3. เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดขาวของคนมีประมาณ 6,000 - 9,000 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตรของเลือด ในเด็กแรกเกิดจะมีเม็ดเลือดขาวมากที่สุด ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ตามหน้าที่ของเซลล์เม็ดเลือดขาว
1.ฟาโกไซต์ เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวพวกที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมโดยวิธี ฟาโกไซโทซิส พวกนี้จะเจริญพัฒนาที่ไขกระดูก
2.ลิมโฟไซต์ เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวพวกที่ทำหน้าที่สร้างสารขึ้นมาต่อต้านสิ่งแปลกปลอม หรือเชื้อโรค สารที่ถูกสร้างขึ้นเรียกว่า แอนติบอดี ซึ่งเป็นสารประเภทโปรตีน
เซลล์เม็ดเลือดขาวยังมีสมบัติเฉพาะ คือ สามารถเคลื่อนที่ได้แบบอะมีบา แม้เม็ดเลือดขาวส่วนมากจะมีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง ก็ยังสามารถเคลื่อนที่ผ่านผนังของเส้นเลือดฝอยเข้าสู่น้ำเหลืองไปตามเนื้อ เยื้อต่างๆได้ นอกจากนี้ยังสามารถเคลื่อนที่เข้าหาหรือเคลื่อนที่หนีสารเคมีหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารที่เกิดในตอนที่มีบาดแผลหรือเกิดการบวมอักเสบ
เซลล์เม็ดเลือดขาวส่วนมากมีขนาดใหญ่กว่าเซลล์เม็ดเลือดแดง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 8 ไมโครเมตร เซลล์เม็ดเลือดขาวมีนิวเคลียสขนาดใหญ่ มีจำนวนน้อยกว่าเซลล์เม็ดเลือดแดงมาก เลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตรมีเซลล์เม็ดเลือดขาวประมาณ 5,000 - 10,000 เซลล์ และจะเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ เมื่อมีเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย
การสร้างเม็ดเลือดขาว
การสร้างเม็ดเลือดขาวสร้างขึ้นจากเซลล์ไขกระดูกเช่นเดียวกับเซลล์เม็ดเลือด แดง เซลล์เม็ดเลือดขาวบางส่วนจะพัฒนาที่ไขกระดูก แต่บางส่วนจะไปเจริญพัฒนาในเนื้อเยื่อน้ำเหลือง และต่อมน้ำเหลือง
ในกรณีที่มีการอักเสบ จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวจะเพิ่มขี้นมาก การอักเสบที่เกิดจากไวรัสหลายชนิด ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวจะลดลงกว่าปกติ เหตุนี้ เองในการตรวจร่างกายผู้ป่วยที่เป็นโรคติดเชื้อหรือโรคอื่นๆ แพทย์จะตรวจหาปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวร่วมไปกับการตรวจนับเซลล์เม็ดเลือดแดง สำหรับการวินิจฉัยโรค
หากมีการผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดงของไขกระดูกหรือไขกระดูกไม่ทำงานจะทำ ให้เซลล์เม็ดเลือดเกิดการบกพร่องหรือผิดปกติ ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับเลือดได้หลายโรค เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลิวคีเมีย
4. เพลตเลต เพลตเลตมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น “เกล็ดเลือด” “เศษเม็ดเลือด” หรือ”แผ่นเลือด” เพลตเลต เป็นชิ้นส่วนของไซโทพลาซึมของเซลล์ชนิดหนึ่งในไขกระดูก ขาดเป็นชิ้นๆ แล้วจึงเข้าสู่เส้นเลือด มีนาดเล็กมาก รูปร่างไม่แน่นอน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 - 2 ไมโครเมตร มีอายุประมาณ 10 วัน
การแข็งตัวของเลือด
เมื่อเกิดบาดแผลขึ้นหรือเส้นเลือดถูกทำลายจะมีกระบวนการหลายอย่างเกิดขึ้น เพื่อป้องกันการไหลของเลือด การสูญเสียเลือดและรักษาปริมาณของเลือดให้คงที่ กระบวนการนี้เรียกว่าการแข็งตัวของเลือด ซึ่งประกอบด้วยการะบวนการสำคัญที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกันดังนี้ (1) เส้นเลือดบีบตัวในขณะที่มีบาดแผล เพื่อช่วยลดปริมาณของเลือด (2) กลุ่มของแผ่นเลือดไปอุดปากแผลและ (3) เกิดการแข็งตัวของเลือด
โปรตีนและเอนไซม์ที่ทำให้เลือดแข็งตัว ผลิตมาจากตับ ถ้าตับผิดปกติ เช่น เป็นโรคตับแข็ง ตับอักเสบ สารที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดอาจจะผลิตไม่เพียงพอที่จะทำให้เลือดหยุดไหล ได้ นอกจากนี้ถ้าขาดวิตามินเคก็จะมีผลต่อการหยุดไหลของเลือดเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น