การเคลื่อนตัวของสนามแม่เหล็กโลก
นับว่าเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจไปทั่วโลกในขณะนี้ สำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของขั้วแม่เหล็กโลกที่ นักวิทยาศาสตร์หลายท่านเชื่อว่าเป็นต้นเหตุของเหตุการณ์ประหลาด อย่างเหตุการณ์สัตว์ตายทั่วโลกเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และดูเหมือนว่าเรื่องนี้ยังคงเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงอย่างต่อเนื่อง ยิ่งมีเหตุการณ์ประหลาดเกิดขึ้นกับโลกมากเท่าไร ก็ยิ่งได้รับความสนใจมากเท่านั้น
ล่าสุด เรื่องราวของการเคลื่อนตัวของสนามแม่เหล็กโลก ได้กลายเป็น Talk of the Town อีกครั้ง หลังจากเมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมา สนามบินนานาชาติแทมป้า ในรัฐฟลอริดา สหรัฐฯ ได้ปิดรันเวย์บางรันเวย์ เนื่องจากการเคลื่อนตัวของสนามแม่เหล็กโลก ที่ทำให้ทางสนามบินต้องปรับหมายเลขรันเวย์กันใหม่ เนื่องจากหมายเลขรันเวย์นี้สำคัญต่อนักบินมาก โดยจะเป็นตัวระบุว่ารันเวย์นั้นหันไปทิศทางใดและทำมุมกี่องศากับขั้วแม่ เหล็กโลกขั้วเหนือ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า ขั้วแม่เหล็กโลกได้เคลื่อนไปกว่า 10 องศา ทำให้ทางสนามบินต้องปรับหมาย เลขรันเวย์จาก 18R/36L (ทำมุม 180 องศากับขั้วโลกเหนือ และ 360 องศากับขั้วโลกใต้) มาเป็น 19R/1L (ทำมุม 190 องศากับขั้วโลกเหนือ และ 10 องศากับขั้วโลกใต้) ขณะที่รันเวย์อีก 2 รันเวย์ก็กำลังจะถูกปิดเพื่อปรับหมายเลขรันเวย์ใหม่ในวันที่ 13 มกราคมนี้
อธิบายอิทธิพลของขั้วแม่เหล็กโลกที่มีต่อการบิน
สำหรับการปรับหมายเลขรันเวย์ จะปรับทุก 20-30 ปี เนื่องจากขั้วแม่เหล็กโลกมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา โดย ในอดีตจะเคลื่อนที่จากจุดเดิมเฉลี่ยประมาณ 16 กิโลเมตรต่อปี แต่ในปัจจุบัน คาดว่าทางสนามบินทุกแห่งจะต้องปรับหมายเลขรันเวย์กันบ่อยขึ้น เนื่องจากมีการตรวจสอบพบว่าขั้วแม่เหล็กโลกนั้นเคลื่อนตัวเร็วขึ้นมาก คือ ประมาณ 64 กิโลเมตรต่อปี ซึ่งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา ขั้วแม่เหล็กโลกได้เคลื่อนตัวจากบริเวณมหาสมุทรอาร์กติกในแคนาดา กำลังมุ่งตรงไปยังประเทศรัสเซียในปัจจุบัน รวมระยะทางกว่า 1,200 กิโลเมตรเลยทีเดียว
การเคลื่อนตัวของขั้วแม่เหล็กโลก แม้จะค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปอย่างต่อเนื่องตามวัฏจักร แต่จากเหตุการณ์ดังกล่าว ก็มีนัก วิทยาศาสตร์หลายคนนำมาเชื่อมโยงกับการกลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลก ที่คาดการณ์ว่ากำลังจะเกิดผลกระทบครั้งใหญ่ในปี 2012 ที่จะถึงนี้ โดยวิเคราะห์กันว่า การที่ขั้วแม่เหล็กโลกเคลื่อนตัวเร็วขึ้นนั้น เป็นเพราะกำลังจะเข้าสู่ภาวะพลิกตัวหรือกลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลกนั่นเอง วันนี้ กระปุกดอทคอมจึงขอนำเรื่องราวของการเคลื่อนตัวและการกลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลกมาฝากกันอีกครั้งค่ะ
สนามแม่เหล็กโลก เกิดจากปรากฎการณ์ไดนาโมหรือการที่ของเหลวที่อยู่ภายในโลกมีการหมุนวน ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำไฟฟ้าขึ้น จนเกิดเป็นสนามแม่เหล็ก ขั้วหนึ่งอยู่ทางทิศเหนือ และขั้วหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ โดย สนามแม่เหล็กนี้จะปกป้องโลกจากรังสีและอันตรายภายนอกโลก และขั้วแม่เหล็กทั้งสองขั้วก็จะมีการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา โดยเป็นอิสระจากกัน ซึ่งเมื่อถึงช่วงเวลาหนึ่ง จะมีการกลับขั้วของสนามแม่เหล็ก หรือการที่ขั้วแม่เหล็กเหนือและขั้วแม่เหล็กใต้สลับตำแหน่งกันตามวัฏจักรของ โลก ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวยังไม่มีทฤษฎีใดอธิบายได้ว่าเกิดจากอะไรและใช้เวลา กลับขั้วนานเพียงใด แต่ที่แน่ ๆ คือสนามแม่เหล็กโลกจะมีการกลับขั้วทุก ๆ 250,000 - 300,000 ปีโดยเฉลี่ย หรืออาจคลาดเคลื่อนไปบ้างก็เป็นได้ และกระบวนการนี้จะค่อยเป็นค่อยไป แต่ระหว่างช่วงเวลานี้ก็จะส่งผลกระทบต่อพื้นผิวโลกและสิ่งมีชีวิตบนโลกไม่ น้อย โดยครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 780,000 ปีก่อน และในครั้งนั้นก็มีความรุนแรงมากถึงขนาดทำให้สัตว์หลายชนิดบนโลกสูญพันธุ์มาแล้ว
สนามแม่เหล็กโลกที่ปกป้องโลกจากรังสีและอันตรายภายนอกโลก
จากการศึกษาและคาดคะเนของนักวิทยาศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักธรณีฟิสิกส์พบว่า ปราก ฎการณ์การกลับขั้วของสนามแม่เหล็กนี้อาจส่งผลกระทบครั้งใหญ่ในปี 2012 หลังจากพบว่าขั้วแม่เหล็กโลกมีการเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา และความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กโลกก็อ่อนกำลังลงกว่า 10% ซึ่ง ถ้าหากสนามแม่เหล็กโลกกลับขั้วตามการคาดคะเน ในช่วงเวลาที่มันกำลังพลิกกลับนั้นก็อาจทำให้สนามแม่เหล็กโลกอ่อนกำลังลงมาก ถึงที่สุด แต่ไม่ว่าจะร้ายแรงอย่างนั้นหรือไม่ก็ตาม สนามแม่เหล็กโลกก็จะไม่ลดลงถึงระดับศูนย์ มันยังคงทำหน้าที่ของมัน คือ การปกป้องโลกจากอันตรายร้ายแรงภายนอกโลก และเคลื่อนไหวต่อไปตามวัฏจักร เพียงแต่ถ้าหากสนามแม่เหล็กโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแล้ว มันก็อาจส่งผลกระทบหลาย ๆ อย่างบนโลก ดังต่อไปนี้
1.
เปลือกโลกมีการเคลื่อนตัว เกิดภัยพิบัติบนผิวโลก
เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินถล่ม สึนามิหรือแผ่นดินไหวใต้น้ำ โดยปรากฎการณ์นี้จะไม่เกิดครั้งใหญ่ครั้งเดียวฉับพลันแล้วทำลายทุกสิ่ง
แต่จะค่อย ๆ เกิดรุนแรงขึ้นและถี่ขึ้นเรื่อย ๆ โดยกินระยะเวลานานหลายปี
2. เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ เนื่อ งจากการสลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลกจะทำให้สภาพอากาศบนโลกเปลี่ยนไปในทางตรง ข้าม เช่น ในพื้นที่ที่ร้อนจัดก็จะเปลี่ยนเป็นหนาวจัด ส่วนพื้นที่ที่เคยหนาวจัดก็จะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นมาก ทำให้น้ำแข็งบริเวณพื้นที่หนาวละลายและเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบไป หลายพื้นที่
3. โลกจะร้อนขึ้น เนื่อง จากความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กโลกอ่อนแอลง จึงอาจทำให้โลกได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ในปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิบนผิวโลกสูงขึ้น
4. อุกกาบาต และวัตถุจากอวกาศจะถูกดึงเข้ามายังโลกได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างที่เคลื่อนที่ผ่านจะพุ่งเข้าชนโลก เพราะอย่างไรก็ตาม ขั้วแม่เหล็กโลกยังคงปกป้องโลกอยู่ แม้จะอ่อนกำลังลงบ้างแต่จะไม่สูญเสียอำนาจของมันไปทั้งหมด
5. สัตว์หลายชนิดสูญเสียประสาทสัมผัสในการกำหนดทิศทาง ในโลกนี้มีสัตว์หลายชนิดที่อาศัยแม่เหล็กโลกในการกำหนดทิศทาง โดยพวกมันจะเดินทางและอพยพย้ายถิ่นไปทางขั้วโลกเหนือเสมอ ซึ่งหากแม่เหล็กโลกเปลี่ยนขั้วหรือเพียงแค่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วมาก ก็อาจทำให้มันต้องเจอกับอุปสรรคครั้งใหญ่ ที่อาจส่งผลต่อการดำรงชีวิตของพวกมัน
6. ภูมิคุ้มกันในร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกจะอ่อนแอลง สัตว์ เล็ก ๆ ที่มีภูมิต้านทานโรคน้อยกว่าสัตว์ใหญ่จะค่อย ๆ ล้มตายไปก่อน เช่น นก ปลา ค้างคาว และเมื่อความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กอ่อนแอมากขึ้น สัตว์ที่ใหญ่กว่าก็จะค่อย ๆ ล้มตายไป
2. เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ เนื่อ งจากการสลับขั้วของสนามแม่เหล็กโลกจะทำให้สภาพอากาศบนโลกเปลี่ยนไปในทางตรง ข้าม เช่น ในพื้นที่ที่ร้อนจัดก็จะเปลี่ยนเป็นหนาวจัด ส่วนพื้นที่ที่เคยหนาวจัดก็จะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นมาก ทำให้น้ำแข็งบริเวณพื้นที่หนาวละลายและเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบไป หลายพื้นที่
3. โลกจะร้อนขึ้น เนื่อง จากความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กโลกอ่อนแอลง จึงอาจทำให้โลกได้รับรังสีจากดวงอาทิตย์ในปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิบนผิวโลกสูงขึ้น
4. อุกกาบาต และวัตถุจากอวกาศจะถูกดึงเข้ามายังโลกได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างที่เคลื่อนที่ผ่านจะพุ่งเข้าชนโลก เพราะอย่างไรก็ตาม ขั้วแม่เหล็กโลกยังคงปกป้องโลกอยู่ แม้จะอ่อนกำลังลงบ้างแต่จะไม่สูญเสียอำนาจของมันไปทั้งหมด
5. สัตว์หลายชนิดสูญเสียประสาทสัมผัสในการกำหนดทิศทาง ในโลกนี้มีสัตว์หลายชนิดที่อาศัยแม่เหล็กโลกในการกำหนดทิศทาง โดยพวกมันจะเดินทางและอพยพย้ายถิ่นไปทางขั้วโลกเหนือเสมอ ซึ่งหากแม่เหล็กโลกเปลี่ยนขั้วหรือเพียงแค่เคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วมาก ก็อาจทำให้มันต้องเจอกับอุปสรรคครั้งใหญ่ ที่อาจส่งผลต่อการดำรงชีวิตของพวกมัน
6. ภูมิคุ้มกันในร่างกายของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกจะอ่อนแอลง สัตว์ เล็ก ๆ ที่มีภูมิต้านทานโรคน้อยกว่าสัตว์ใหญ่จะค่อย ๆ ล้มตายไปก่อน เช่น นก ปลา ค้างคาว และเมื่อความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กอ่อนแอมากขึ้น สัตว์ที่ใหญ่กว่าก็จะค่อย ๆ ล้มตายไป
การกลับขั้วของสนามแม่เหล็กนี้ก็ไม่ได้สร้างปรากฎการณ์ที่ส่งผลให้สิ่งมี ชีวิตทุกชนิดบนโลกล้มตายไปเสียทั้งหมด โดยมีการคาดคะเนว่า สิ่งมีชีวิตที่เหลืออยู่อาจเป็นสัตว์จำพวกกุ้ง หอย ปู ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่อยู่ลึกลงไปหลายกิโลเมตรในทะเล และสิ่งมีชีวิตบางชนิดที่อาจมีภูมิต้านทานที่แข็งแรงและอยู่ในพื้นที่ที่ได้ รับอิทธิพลจากปราฎการณ์ดังกล่าวเพียงเล็กน้อย แต่ หากรอดชีวิต สิ่งมีชีวิตก็ต้องพบเจอกับปัญหาต่าง ๆ นา ๆ ของโลกที่อาจเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงกันข้าม ทั้งสภาพอากาศ กระแสลม กระแสน้ำ และโลกอาจหมุนกลับไปในทิศตรงกันข้าม ทำให้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก ซึ่งหากเวลานั้นมาถึง และสิ่งมีชีวิตยังคงมีชีวิตรอดจากภัยพิบัติต่าง ๆ ก็อาจจะต้องใช้เวลาปรับตัวกันนานโขเลยทีเดียว
ทั้งนี้ ทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นเพียงการคาดคะเนจากนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น ช่วงเวลาของการพลิกกลับของขั้วแม่เหล็กโลกอาจกินเวลานานนับพันปี และก่อให้เกิดปรากฎการณ์รุนแรงน้อยกว่าหรือมากกว่าที่กล่าวมาก็เป็นได้ อีกทั้งยังอาจส่งผลรุนแรงที่สุดในปี 2012 หรือคลาดเคลื่อนไปนานกว่านั้น 10 ปีหรือ 100 ปีก็เป็นได้อีกเช่นกัน แต่ที่แน่ ๆ ปรากฏการณ์การเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วของขั้วแม่เหล็กโลก, การอ่อนกำลังลงของสนามแม่เหล็ก, การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศ, การเกิดภัยพิบัติ, และการล้มตายของสัตว์ที่โลกกำลังเผชิญอยู่ทุกวันนี้ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นสัญญาณอันตรายที่กำลังเตือนว่าโลกกำลังเริ่มต้น เข้าสู่จุดเปลี่ยนในอีกไม่ช้า เหมือน ที่มันเคยเกิดขึ้นมาครั้งแล้วครั้งเล่าตั้งแต่ก่อนมีอารยธรรมมนุษย์เสียอีก และมันก็คงไม่ได้เป็นสิ่งที่เพ้อเจ้อหรือเป็นไปไม่ได้แต่อย่างใด ถ้าหากโลกใบนี้ยังเคลื่อนไหวตามวัฏจักรของมันอยู่ ก็คงไม่แปลกอะไรที่ช่วงเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงของโลกครั้งยิ่งใหญ่ในรอบแสน ปีกำลังจะมาบรรจบอีกครั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น