วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

การเกิดของซุปเปอร์โนวา

ในดาวฤกษ์นั้นจะประกอบด้วยธาตุต่างๆมากมาย ซึ่งธาตุส่วนใหญ่จะเป็นไฮโดรเจน ซึ่งจะอยู่ในแกนกลางของดาวฤกษ์ ซึ่งจะทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิวชันช่วยให้พลังงานแก่ดาวฤกษ์ ทำให้ดาวฤกษ์ทนต่อสภาพแรงโน้มถ่วงตัวเองได้ และดาวฤกษ์จะขยายตัวออกไปเรื่อยๆ  เมื่อไฮโดรเจน หรืออีเลียม หรือเชื้อเพลิงของดาวหมดไป แต่แรงขยายตัว  แรงดึงดูด  และความร้อนของดาว  ยังอยู่ ทุกสิ่งจะทำงานพร้อมกัน  แรงดึงดูดจะดูบางส่วนของดาวไปที่จุดศูนย์กลางทันที   อัตราขยายตัว เปลี่ยนแปลงเป็นแรงระเบิด ซึ่งจะทำให้เกิดธาตุต่างๆ 26ธาตุ นานอยู่15วินาที ร่องรอยเป็นเนบิวลาอยู่ในอาวกาศครับ

วันศุกร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2555

ผลเสียของการกินมาม่า

ผลเสียของการกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปต่อสุขภาพ




บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป : อาหารจานด่วนที่ไม่ควรบริโภค

         ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงงานผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่มีเครื่องมือทันสมัยหลายแห่งกระจาย
อยู่ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด บะหมี่สำเร็จรูปส่วนใหญ่ผลิตจากข้าวสาลี มีไข่และเกลือเป็นส่วนผสมเพียงเล็กน้อย ส่วนผสมดังกล่าวจะถูกนำมานวดให้เข้ากันด้วยเครื่องจักรจนเข้ากันดีแล้ว จึงนำมาเข้าเครื่องอัดเส้นให้เป็นเส้นเล็ก ๆ และทำให้สุกด้วยน้ำร้อน จากนั้นจึงนำไปทอดในน้ำมันปาล์มซึ่งมีสารกันหืนอยู่เล็กน้อย ต่อจากนั้นจึงนำไปบรรจุซอง
หรือถ้วยโฟม สำหรับวางจำหน่ายต่อไป ภายในซองหรือถ้วยโฟมจะมีเครื่องปรุงเป็นถุงเล็ก ๆ ใส่ให้ด้วย ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นผงชูรสผสมพริกไทย เวลารับประทานเพียงแต่เอาเส้นบะหมี่เทใส่ถ้วยเติมเครื่องปรุงแล้วเทน้ำร้อน ใส่ทิ้งไว้ 2 - 3 นาที ก็สามารถรับประทานได้ทันที
จึง นับว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารจานด่วนที่ให้ความสะดวกต่อผู้บริโภคมาก ทีเดียว แต่จากการตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่วางจำหน่าย ในท้องตลาด พบว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปน้ำหนัก 100 กรัม ให้พลังงาน 430 แคลอรี่ โปรตีน 12 กรัม ไขมัน 16 กรัม และคาร์โบไฮเดรต 60 กรัม โดยมีเกลือแร่ผสมอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น จากข้อมูลนี้ เมื่อนำมาพิจารณาถึงประโยชน์ของสารอาหารที่ได้รับจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป พบว่าโปรตีนที่ได้เป็นโปรตีนที่มาจากพืชคือข้าวสาลี ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีสัดส่วนของกรดอะมิโนไม่ครบถ้วนเหมือนโปรตีนจากสัตว์ ส่วนสารอาหารที่เหลือเป็นคาร์โบไฮเดรตและไขมัน ดังนั้นในการรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเพียงอย่างเดียวในแต่ละมื้อ อาจจะทำให้เกิดการขาดสารอาหารได้เพราะส่วนใหญ่แล้วมักจะรับประทานบะหมี่กึ่ง สำเร็จรูปโดย
ไม่ได้ปรุงแต่งหรือเติมเนื้อสัตว์และผักสด
ดังนั้นท่านผู้ฟังทุกท่านจึงควรจะตระหนักถึงสารอาหารที่ได้รับนอกเหนือจากความอิ่มท้องเท่านั้น
นอกจากการนำเส้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาใส่น้ำร้อนรับประทานเป็นบะหมี่น้ำแล้ว เด็ก ๆ จำนวนมากนิยมนำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมารับประทานโดยตรงแทนอาหารว่าง โดยเฉพาะในช่วงเวลาเดินทางกลับบ้านหลังเลิกเรียน หรือระหว่างช่วงเวลาพักผ่อน การรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในลักษณะแบบนี้จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ เป็นอย่างมาก เนื่องจากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเหล่านี้ส่วนมากมีรสค่อนข้างจัด เมื่อเส้นบะหมี่ตกถึงกระเพาะจะดูดน้ำส่วนอื่นของร่างกาย ทำให้มีอาการคล้ายกับการขาดน้ำ นอกจากนี้ถ้าหากมีการใส่เครื่องปรุงเข้าไปด้วย จะยิ่งทำให้เป็นอันตรายต่อร่างกายมากขึ้นจากอาการรับประทานผงชูรสปริมาณมาก ทำให้เกิดอาการคอแห้ง มึนศีรษะ เวียนศีรษะ เป็นต้น
แม้ ว่าอาการเหล่านี้จะไม่มีรายงานว่าทำให้เกิดการสูญเสียชีวิต แต่ก็เป็นสิ่งที่ควรตระหนักในการเลือกรับประทานอาหาร โดยเฉพาะในวัยเด็กควรจะมีข้อควรระวังในเรื่องของเวลาที่จะรับประทานด้วย เพราะมีเด็กจำนวนไม่น้อยที่มักจะรับประทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก่อนเวลาอาหาร และรับประทาน
ในลักษณะของว่างโดยไม่มีเนื้อสัตว์หรือผักสดเป็นส่วนผสมเลย กรณีเช่นนี้จะทำให้เด็กได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ และยังทำให้เด็กรู้สึกอิ่ม เมื่อถึงเวลารับประทานอาหารทำให้รับประทานอาหารในมื้อหลักนั้น ๆ ได้น้อยลง ถ้าพฤติกรรมการบริโภคดังกล่าวนี้ดำเนินต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้เด็กได้ รับสารอาหาร
ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ส่งผลให้พัฒนาการด้านร่างกายและสติปัญญาลดน้อยลง

แม้ ว่าในภาวะที่ต้องดำเนินชีวิตอย่างเร่งรีบแข่งขันกับเวลา อาหารกึ่งสำเร็จรูปจะยังมีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตเป็นอย่างมาก เพราะช่วยประหยัดเวลาในการเตรียมอาหารในแต่ละมื้อแต่ละวันได้เป็นอย่างดี แต่การนำอาหารกึ่งสำเร็จรูปมาใช้ อย่ามองเพียงในแง่ความสะดวกสบายเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะพิจารณาและให้ความสนใจด้วยว่าจะใช้อาหารกึ่งสำเร็จรูปอย่างไรจึงจะ ให้ประโยชน์
สูงสุดและคุ้มค่าที่มากที่สุด ดังนั้นการรับประทานอาหารบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอย่างชาญฉลาดและให้ได้รับคุณ ค่าทางอาหารครบถ้วน ควรจะมีการเพิ่มเนื้อสัตว์ ผัก ไข่ และเครื่องปรุงอื่น ๆ เข้าไปในอาหารจานด่วนชนิดนี้ด้วย ซึ่งแม้ว่าจะเสียเวลาเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่คุณค่าทางอาหารที่ท่านได้รับจะเต็มรูปแบบและเต็มคุณค่าตามที่ร่างกายต้อง การ โดยเฉพาะในผู้บริโภควัยเด็กที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต ความหิวอาจจะทำให้เด็กรับประทาน
อะไรที่ง่าย ๆ และสะดวก แต่ด้อยคุณค่ากว่าที่ควรจะเป็น


โรคหลอดเลือดในสมองแตก


โรคหลอดเลือดสมองแตก

 
โรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหลอดเลือดสมอง โดยทั่วไปมักเรียกว่าโรคอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต โรคนี้แบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน และโรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน อาจเกิดจากการตีบตันที่หลอดเลือดสมองเอง หรือเกิดจากการมีลิ่มเลือดหลุดจากที่อื่น เช่น จากหัวใจ และจากหลอดเลือดที่บริเวณคอมาอุดตันหลอดเลือดสมอง ทำให้สมองบางส่วนขาดเลือด ส่วนโรคหลอดเลือดสมองแตกเกิดจากการแตกของหลอดเลือดสมอง ทำให้มีเลือดออกมาคั่ง และทำลายเนื้อสมองในบริเวณนั้น นอกจากนี้อาจกดเบียดสมองส่วนที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้สมองส่วนนั้นทำหน้าทั่ไม่ได้ตามปกติ เกิดอาการอัมพฤกษ์ หรืออัมพาต
โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาที่พบ บ่อย และสำคัญของประเทศซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 การป้องกันในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยง การวินิจฉัย และรักษาที่ทันเวลา ช่วยลดความพิการ และอัตราตาย รวมทั้งลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ โรคหลอดเลือดสมองจัดเป็นภาวะเร่งด่วนทางอายุรศาสตร์ และศัลยศาสตร์ เวลาเป็นสิ่งสำคัญ การขาดเลือดของสมองทำให้เซลล์สมองตายมากขึ้นเมื่อเวลานานขึ้นจึงควรรีบให้ การรักษาอย่างรวดเร็ว

สาเหตุ
  1. สาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน ได้แก่ ภาวะหลอดเลือดแข็ง ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของผนังหลอดเลือด มีไขมัน และหินปูนมาจับ พบได้ทั้งในหลอดเลือดสมองเอง และหลอดเลือดใหญ่ที่คอ มักพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง หรือผู้ที่สูบบุหรี่
  2. บางคนเกิดจากโรคหัวใจที่มีลิ่ม เลือดหลุดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
  3. ส่วนน้อยเกิดจากหลอดเลือดสมองอักเสบ และโรคเลือดบางชนิด
  4. ส่วนสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองแตกที่สำคัญที่สุด คือ โรคความดันโลหิตสูง บางรายอาจเกิดจากหลอดเลือดสมองผิดปกติแต่กำเนิด

อาการ
  1. เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกายทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานทุกระบบ เช่น การเคลื่อนไหว ระบบประสาทสัมผัสต่างๆ เป็นต้น สมองในตำแหน่งต่างๆ ทำหน้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้นอาการของโรคหลอดเลือดสมองจึงเกิดขึ้นได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดโรคหากสมองส่วนใดสูญเสียการทำงานไป ก็จะเกิดอาการผิดปกติของร่างกายในระบบที่สมองบริเวณนั้นควบคุมอยู่ อาการมักเกิดอย่างรวดเร็ว หรือทันทีทันใด เนื่องจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงทันที แต่ในบางครังอาจมีอาการแบบเป็นๆ หายๆ หรือค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลาอันสั้น
  2. อาการที่พบบ่อยมีหลายอย่าง ได้แก่ อ่อน แรงของร่างกายครึ่งซีก ชาครึ่งซีก เวียนศรีษะ ร่วมกับเดินเซ ตามัว หรือมองเห็นภาพซ้อน พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ปวดศรีษะ อาเจียน ซึม ไม่รู้สึกตัว ที่สำคัญคืออาการดังกล่าวข้างต้น หากเกิดขึ้น และหายไปในเวลาอันรวดเร็ว ถือเป็นอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมอง ท่านควรไปพบแพทย์ด่วน พึงระลึกไว้เสมอว่าเมื่อมีอาการของโรคหลอดเลือดสมอง ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีอย่ามัวรอดูอาการ
  3. หลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมอง แล้ว จะมีการเปลี่ยนแปลงได้หลายลักษณะ คือ บางคนจะดีขึ้นเองภายใน 24 ชั่วโมง บางคนอาการแย่ลงภายใน 1-3 วันแรกจากหลอดเลือดสมองมีการอุดตันมากขึ้น บางคนอาการมากที่สุดในตอนแรกเกิดอาการและคงที่ และบางคนเกิดปัญหาสมองบวมตามมาซึ่งอาจทำให้อาการทรุดหนักซึ่งโดยทั่วไปมัก เกิดภายใน 3-4 วันแรก หลังจากพ้นระยะนี้ไปจะเป็นช่วงการฟื้นตัว ซึ่งแต่ละคนจะมีการฟื้นตัวได้ไม่เท่ากัน บางรายสามารถฟื้นได้เป็นปกติ บางรายอาจยังมีความพิการหลงเหลืออยู่



อาการเตือน
  1. อาการกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง หรือไม่มีแรงครึ่งซีกที่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด หรืออาการชาของแขน หรือขาซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายเป็นครั้งคราว
  2. ภาวะที่มีอาการชาหรืออ่อนแรงของใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง
  3. อาการสับสน ระดับการรับรู้เปลี่ยนแปลงไปในทางเลวลง ภาวะที่พูดลำบาก กระตุกกระตักหรือพูดไม่ชัด โดยอาการเป็นชั่วคราว หรืออาจจะนึกพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว
  4. ภาวะที่ตามืดหรือมองไม่เห็นไปชั่วครู่ หรืออาจจะเห็นแสงที่ผิดปรกติ หรือเห็นภาพซ้อน จัดเป็นอาการผิดปกติของการมองเห็น
  5. อาการวิงเวียนบ้านหมุน หรือเป็นลม เดินเซ ไม่สามารถทรงตัวได้
  6. อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงชนิดที่ไม่เคยปวดมาก่อน มักเกิดขึ้นขณะปฏิบัติกิจกรรมที่เคร่งเครียด หรือกำลังอยู่ในภาวะอารมณ์ที่รุนแรง
  7. กลืนอาหารสำลักบ่อยๆ
การวินิจฉัย
  1. อาศัยการซักถามประวัติอาการของ ผู้ป่วยโดยละเอียดการตรวจร่างกายทั่วไป และการตรวจร่างกายทางระบบประสาท รวมทั้งการตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์
  2. การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง โดยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และการตรวจค้น สามารถให้การวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง ลักษณะเฉพาะของโรคหลอดเลือดสมองคือ มีปัจจัยเสี่ยง อาการเกิดขึ้นทันทีทันใด มีความผิดปกติทางระบบประสาทจากการสูญเสียหน้าที่ของสมองอธิบายได้ตามรอยโรค ของพื้นที่ที่สมองขาดเลือดจากเส้นเลือดจำเพาะ
  3. การตรวจภาพถ่ายทางรังสีของสมอง และหลอดเลือดสมอง CT, MRI ของสมอง ตรวจหาสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง เลือดออกในสมอง หรือสมองขาดเลือด ในภาวะสมองขาดเลือด MR Diffusion weight image (DWI) ช่วยให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเมื่อสมองขาดเลือดเร็วขึ้นใน 3 ชม.
  4. MR Spectroscopy, PET, SPECT ตรวจการทำงานสมอง
  5. Cerebral angiography การฉีดสีเข้าเส้นเลือด และถ่ายภาพเอ็กซเรย์เส้นเลือดสมองเป็นวิธีมาตราฐานในการวินิจฉัยโรคหลอด เลือดสมอง ปัจจุบันมีการพัฒนา CT และ MRI เพื่อให้เห็นภาพเส้นเลือดสมองทดแทน ได้แก่ CT.Angiography (CTA), MR Angiography (MRA) เส้นเลือดแดง, MRVenography (MRV) เส้นเลือดดำ
  6. การตรวจด้วยคลื่นเสียง อุลตราโซนิค DUPLEX ultrasound เพื่อตรวจวัดขนาดภายในหลอดเลือดที่คอ ภาวะการตีบ และอุดตันของเส้นเลือดนอกกะโหลกศีรษะ Transcranial Doppler ultrasound (TCD) ตรวจวัดความเร็วในหลอดเลือดของเส้นเลือดสมอง เพื่อหาความผิดปกติจากการตีบตัวหรือการอุดตัน

การรักษา
  1. การรักษาในระยะแรกทำได้ยาก เรื่องสำคัญ คือต้องพยายามทำให้เลือดหยุด ลดความดันในสมอง ช่วยให้สัญญาณชีพอยู่ในภาวะปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความดันโลหิต
  2. พิจารณาใช้ยาลดความดันโลหิต ยาลดสมองบวม โดยปรับขนาดของยาตามความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย
  3. พิจารณาใช้ยาลดระดับน้ำตาลในเลือด และยาระงับชัก เมื่อมีข้อบ่งชี้
  4. เฝ้าติดตามอาการของผู้ป่วยอย่าง ใกล้ชิด ตรวจบันทึกอาการแสดงของภาวะความดันในสมองเพิ่มสูงขึ้น ระดับความรู้สึกตัว ติดตามความรุนแรงของอาการปวดหัว
การผ่าตัด
  1. ในรายที่มีเลือดออกจำนวนมาก ผู้ป่วยมีอาการเลวลงอย่างรวดเร็ว บางรายอาจต้องผ่าตัดเพื่อเย็บซ่อมหลอดเลือดที่ฉีกขาด
  2. เวลาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแตก ตีบ และตัน โดยเฉพาะ 3 ชั่วโมงแรกที่มีอาการ ดังนั้น ผู้ป่วยควรพบแพทย์ทางสมองภายในระยะดังกล่าว แพทย์อาจจะใช้ยาฉีดเพื่อละลายลิ่มเลือดให้เลือดไหลเวียนได้ปกติ แต่ยานี้จะใช้ได้ในบางรายเท่านั้น หลังจากนั้นแพทย์อาจจะรับตัวไว้รักษาในห้องรักษาผู้ป่วยหนัก เพื่อให้ยา และสังเกตอาการรวมทั้งการหลับ ตื่น การตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ การเคลื่อนไหว การกลืนอาหาร เมื่อพ้นระยะเฉียบพลันไปแล้ว 4 - 5 วัน หรือประมาณ 1 อาทิตย์ ผู้ป่วยจะถูกย้ายไปรักษาในหอผู้ป่วยหลอดเลือด
  3. สำหรับการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด อาจจะเริ่มภายใน 1 - 2 วันแรก แล้วทำกายภาพอย่างต่อเนื่องหลังจากอาการต่างๆ คงที่

การผ่าตัดในกรณีภาวะเส้นเลือดแตกในสมอง (hemorrhagic stroke)
  1. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะเอาก้อนเลือดออก craniotomy remove blood clot
  2. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะหนีบเส้นเลือดสมองโป่งพอง craniotomy aneurysm clipping
  3. การตัดต่อเส้นเลือดสมองเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมองในกรณีที่มีการทำลายเส้นเลือด vascular bypass and revascularization
  4. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะตัดเส้นเลือดผิดปกติออก craniotomy resection of AVM, AVF
  5. การผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินน้ำหล่อ โพรงสมองเมื่อเกิดภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง ผ่าตัดระบายน้ำในโพรงสมองออกนอกร่างกาย หรือระบายลงช่องท้อง CSF diversion
  6. การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะลดความดันในกะโหลกศีรษะ decompressive craniectomy
การป้องกัน
  1. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี วัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละครั้ง เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด เป็นระยะตามที่แพทย์แนะนำ ตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติของหัวใจหรือไม่ ถ้าผิดปกติต้องควบคุม และติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ ผู้ป่วยเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  2. เลิกสูบบุหรี่ พบว่าการเลิกสูบบุหรี่สามารถลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ครึ่งหนึ่ง
  3. ลดน้ำหนักถ้ามีน้ำหนักเกิน งดอาหารรสเค็ม และไขมันสูง
  4. ออกกลังกายสมำเสมอ
  5. ผ่อนคลายความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ
  6. ในรายที่มีความเสี่ยงอาจเกิดโรค หลอดเลือดสมองตีบได้ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยากันเลือดแข็งตัวเพื่อป้องกันอัมพาต ควรปฏิบัติตัว และติดตามการรักษาตามคำแนะนำอย่างใกล้ชิด
  7. ในรายที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดสมองมาก่อน ต้องรับประทานยาป้องกันการเกิดซ้ำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ไม่งดยาเอง
  8. ถ้ามีอาการที่สงสัยว่าอาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองดังกล่าวข้างต้น ให้รีบไปพบแพทย์ทันที


วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2555

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ Allergy

โรค ทางเดินหายใจเป็นโรคที่พบมากของประเทศไทยโดยเฉพาะประชาชนในเขตเมืองเนื่อง จากมลภาวะและภูมิแพ้ บทความนี้จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับภูมิแพ้ในหลายแง่มุมที่คุณควรจะรู้

โรคภูมิแพ้ Allergy คืออะไร

ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีหน้าที่ที่จะจดจำสิ่งแปลกปลอมที่จะทำร้ายร่าง กายเรา เช่นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสโดยการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นต่อสู้กับเชื้อโรค โรคภูมิแพ้เป็นภาวะที่ภูมิของร่างกายมีปฏิกิริยากับโปรตีนหรือสารก่อภูมิแพ้ allergen จากสิ่งแวดล้อมซึ่งปกติจะไม่มีอันตรายสำหรับผู้ที่ไม่แพ้ ปฏิกิริยานี้เริ่มเมื่อเราได้รับสารก่อภูมิแพ้ก็จะเกิดการสร้างภูมิที่เรียก ว่า IgE antibody ตัว antibody นี้จะกระตุ้น Mast cell ให้มีการหลั่งสาร Histamin ขึ้นที่เนื้อเยื่อต่าง เช่น ผิวหนัง ปอด จมูก ลำไส้ ทำให้เกิดการอักเสบของอวัยวะต่างๆ อาการแสดงจะเกิดตามอวัยวะต่างๆ เช่นลมพิษที่ผิวหนัง คัดจมูก แน่นหน้าอกเนื่องจากหอบหืด บางรายอาจจะรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้ Anaphylaxis shock

คนเราเป็นภูมิแพ้ได้อย่างไร

เนื่องจากเกิดโรคภูมิแพ้เป็นจำนวนมากจึงได้มีการวิจัยหาสาเหตุของโรคภูมิแพ้

  • กรรมพันธุ์ ผู้ที่มีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว เช่นพ่อแม่ พี่น้อง ก็จะเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าจะเป็นโรคภูมิแพ้ได้ง่าย เด็กชายเป็นมากกว่าเด็กหญิงหากพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้เด็กจะเป็นภูมิแพ้ ได้ร้อยละ 30 แต่หากทั้งพ่อและแม่เป็นภูมิแพ้เด็กจะมีโอกาศเป็นโรคภูมิแพ้ร้อยละ 50-60

  • สิ่ง แวดล้อมของเด็กในขวบปีแรกสำคัญมาก การสัมผัสควันบุหรี่ ไรฝุ่น เกสรดอกไม้ สะเก็ดรังแคสัตว์ การใช้ยาปฏิชีวนะ การรับประทานอาหารสำเร็จรูป เหล่านี้จะทำให้เกิดโรคภูมิแพ้

  • การติดเชื้อไวรัสในวัยเด็ก การที่มีเชื้อ lactobacillus ในลำไส้หรือการอาศัยใกล้ฟาร์มสัตว์จะลดอุบัติการณ์ของภูมิแพ้

การหลีกเลี่ยงหรือนำสิ่งที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ออกจากสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวเป็นการรักษาที่สำคัญที่สุดในการรักษาโรคภูมิแพ้ ซึ่งจะทำให้ลดอาการของโรคภูมิแพ้และลดปริมาณการใช้ยา
ทำไมคนในเมืองถึงเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นพบว่าปัจจัยที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมจากสังคมชนบทเป็นสังคมเมือง

  • คนในเมืองอยู่บ้านมาก ติดเครื่องปรับอากาศ ไม่ออกกำลังกายทำให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย

  • เด็กกินนมแม่น้อยลง ผู้คนรับประทานอาหารจานด่วนมาก ทำให้ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน และได้รับสิ่งแปลกปลอมเข้ามามาก เช่น สี สารกันบูด

  • คนนิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในบ้านเพิ่ม

  • การตกแต่งบ้าน ติดตั้งพรมและติดเครื่องปรับอากาศทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี เชื้อไรฝุ่นเจริญได้ดี

  • มลภาวะจากอุตสาหกรรม และการจราจร

  • การสูบบุหรี่

สารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ในบ้าน

สารก่อโรคภูมิแพ้ในบ้านจะพบได้ตลอดปีและเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดโรคภูมิแพ้ คัดจมูก โรคหอบหืด ผื่นแพ้ eczema สารก่อภูมิแพ้ในบ้านที่สำคัญได้แก่

  • ไรฝุ่นพบมากบนที่นอน โซฟา

  • สะเก็ดรังแคสัตว์ ขนสัตว์ น้ำลาย และเหงื่อของสัตว์เลี้ยง

  • ขนนก ของเสียแมลงสาบ รา

 วิธีป้องกันสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน
 

  • เปิด หน้าต่างให้เกิดการถ่ายเทของอากาศ โดยเฉพาะห้องครัว ห้องน้ำโดยเปิดหน้าต่างอย่างน้อยครั้งละ 1 ชั่วโมงเปิดวันละสองครั้งหากแพ้เกสรควรปิดหน้าต่างโดยเฉพาะช่วงที่มี เกสรดอกไม้มาก

  • ไม่ควรตากผ้าในห้องนอนและห้องนั่งแล่น

  • ถ้าห้องมีความชื้นมากให้เปิดให้อาการถ่ายเทให้มาก

การปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคภูมิแพ้

  • ไม่เลี้ยงสัตว์ที่มีขนไว้ในบ้านโดยเฉพาะในห้องนอน

  • ไม่ควรตกแต่งห้องนอนด้วยพรม หรือมีตุกตา มั่นเช็ดฝุ่นบ่อยๆ

  • ห้องนอนไม่ควรจะมีชั้น หรือหนังสือ

  • เครื่องนอนควรจะซักและต้มสัปดาห์ละครั้ง

  • งดบุหรี่ หรือทาสีในบ้าน

  • หมั่นทำความสะอาด และดูดฝุ่นบ้านและม่านกันแดด

  • กำจัดเศษอาหารให้มิดชิดเพื่อป้องกันแมลงสาบ

     

เวลาการหมุนรอบตัวเองของโลก


ถ้าคุณตอบว่า 1 วันก็ถูกต้องครับ แต่ถ้าใครตอบว่า 24 ชั่วโมงนั้น ผิดครับ   อ้าว... แล้ว 1 วัน มันไม่เท่ากับ 24 ชั่วโมงหรือไง...???
ในกรณีที่ผมถามแบบนี้ต้องบอกว่าไม่เท่ากันครับ เพราะว่าโลกหมุนรอบตัวเองครบ 360 องศา (จากตำแหน่งที่ 1 ไปตำแหน่งที่ 2) ใช้เวลา 86,164.091 วินาที หรือ 23 ชั่วโมง 56 นาที 4.091 วินาที แต่นี่เป็นวันทีโลกอ้างอิงกับตัวเอง คิดโดยการหมุนครบรอบ 360 องศา เป็น 1 วัน ทางดาราศาสตร์จะเรียกว่า Sideral day
แต่ถ้าเราอ้างอิงกับดวงอาทิตย์ โดยคิดว่าเอาตำแหน่งที่โลกหันเข้าหาดวงอาทิตย์ หมุนวนกลับเข้าหาดวงอาทิตย์อีกครั้ง (จากตำแหน่งที่ 1 ไปตำแหน่งที่ 3) นับเป็น 1 วัน แบบนี้ถึงจะได้ 24 ชั่วโมง การคิดโดยอ้างอิงกับดวงอาทิตย์นี้ ทางดาราศาสตร์เรียกว่า Solar day
แต่ก็ใช่ว่ามันจะคำนวณได้พอดีเป๊ะ ถ้าเราคิดแบบ Sideral day ใน 1 ปีจะมี 366.25636042 วัน และถ้าเป็น Solar day ใน 1 ปี เราจะมี 365.25636042 วัน เจ้าเศษทศนิยม 0.256.... เนี่ยล่ะ ที่ทำให้เรามีปัญหา เค้าก็เลยต้องชดเชยด้วยการเพิ่มวันที่ 29 กุมภาพันธ์ เข้าไปทุกๆ 4 ปี ตามปฏิทินแบบสุริยคติ (Solar Calendar)
แต่ในความคิดผมที่ผมอ่านเจอในหนังสือนั้น โลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 23 ชั่วโมง 56นาที 4.0989 วินาที ซึ่งจะต่างกับวินาทีที่ผมหาได้จากอินเทอร์เน็ต

วันจันทร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิธีการตรวจเลือดแบบง่ายๆ ของคุณหมอ

ในการตรวจเลือดว่าเรากรุ๊ปเลือดอะไรนั้น เราต้องมี2สิ่งนี้ก่อน คือ 1.สาร anti a       2.สาร anti b        นะครับ ผู้ตรวจเลือดเค้าจะนำ สารสองสิ่งนี้มาหยดลงไปบนแผ่นสไลด์พอประมาณ  จากนั้น นำเลือดของคนที่ต้องการจะตรวจมาหยดลงบนทั้งสไลด์สองสไลด์ก็จะรู้ว่าคนๆนั้นที่มาตรวจเลือดกรุ๊ปอะไร
หลักการดูว่าเป็นกรุ๊ปเลือดอะไร
    ถ้าคนตรวจเลือดนั้น มีกรุ๊ปเลือดเป็น a  เมื่อหยดลงบนสไลด์ anti a   แล้วจะตกตะกอน  แต่จะไม่ตกตะกอนกับ สไลด์ anti b นะครับ
    ถ้าคนตรวจเลือดนั้น มีกรุ๊ปเลือดเป็น b  เมื่อหยดลงบนสไลด์ anti  b  แล้วจะตกตะกอน  แต่จะไม่ตกตะกอนกับ สไลด์ banti a นะครับ
     ถ้าคนตรวจเลือดนั้น มีกรุ๊ปเลือดเป็น o  เมื่อหยดลงบนสไลด์ anti a และ anti b  จะไม่ตกตะกอนทั้งสองสไลด์ นะครับ
     ถ้าคนตรวจเลือดนั้น มีกรุ๊ปเลือดเป็น ab  เมื่อหยดลงบนสไลด์ anti a และ anti b จะตกตะกอนทั้งสองสไลด์ นะครับ
นี่ก็เป็นวิธีการตรวจกรุ๊ปเลือดแบบง่ายๆ ของทางการแพทย์นะครับ
(เรื่องนี้ผมอ่านเจอในหนังสือ แล้วจำได้เลยเอามาเล่นครับ)

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

      โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (thalassaemia) เป็นโรคเลือดจางที่มีสาเหตุมาจากมีความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้มีการสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดผิดปกติ จึงทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่าปกติ แตกง่าย ถูกทำลายง่าย ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จึงมีเลือดจาง โรคนี้พบได้ทั้งหญิงและชายปริมาณเท่าๆ กัน ถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ทางพันธุกรรมพบได้ทั่วโลก และพบมากในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
อาการ
จะมีอาการซีด ตาขาวสีเหลือง ตัวเหลือง ตับโต ม้ามโต ผิวหนังดำคล้ำ กระดูกใบหน้าจะเปลี่ยนรูป มีจมูกแบน กะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มนูนสูง คางและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันบนยื่น กระดูกบาง เปราะ หักง่าย ร่างกายเจริญเติบโตช้ากว่าคนปกติ แคระแกร็น ท้องป่อง ในประเทศไทยมีผู้เป็นโรคประมาณร้อยละ 1 ของประชากรหรือประมาณ 6 แสนคน
โรคเลือดจางธาลัสซีเมียมีอาการตั้งแต่ไม่มีอาการใดๆ จนถึงมีอาการรุนแรงมากที่ทำให้เสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดไม่เกิน 1 วัน ผู้ที่มีอาการจะซีดมากหรือมีเลือดจางมาก ต้องให้เลือดเป็นประจำ หรือมีภาวะติดเชื้อบ่อยๆ หรือมีไข้เป็นหวัดบ่อยๆ ได้ มากน้อยแล้วแต่ชนิดของธาลัสซีเมียซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้งแอลฟา-ธาลัสซีเมีย และเบต้า-ธาลัสซีเมีย

ผู้ที่มีโอกาสเป็นพาหะ

  • ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ก็มีโอกาสที่จะเป็นพาหะหรือมียีนแฝงสูง
  • ผู้ที่มีลูกเป็นโรคนี้ แสดงว่าทั้งคู่สามีภรรยาเป็นพาหะหรือมียีนแฝง
  • ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคธาลัสซีเมีย
  • ถ้าผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียและแต่งงานกับคนปกติที่ไม่มียีนแฝง ลูกทุกคนจะมียีนแฝง
  • จากการตรวจเลือดด้วยวิธีพิเศษดูความผิดปกติของเฮโมโกลบิน

โอกาสเสี่ยงของการมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย

ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคธาลัสซีเมีย (ป่วยทั้งคู่)

  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งลูกทุกคนจะป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย
  • ในกรณีนี้จึงไม่มีลูกที่เป็นปกติเลย

ถ้าทั้งพ่อและแม่มียีนแฝง (เป็นพาหะทั้งคู่)

  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะเป็นปกติ เท่ากับ ร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4
  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะมียีนแฝง (เป็นพาหะ) เท่ากับ ร้อยละ 50 หรือ 2 ใน 4
  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่จะมีลูกจะเป็นธาลัสซีเมีย เท่ากับ ร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4

ถ้าพ่อหรือแม่เป็นยีนแฝงเพียงคนเดียว (เป็นพาหะ 1 คน ปกติ 1 คน)

  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่จะมีลูกปกติเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2
  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะมียีนแฝงเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2

ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคธาลัสซีเมียเพียงคนเดียวและอีกฝ่ายมียีนปกติ (เป็นโรค 1 คน ปกติ 1 คน)

  • ในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งลูกทุกคนจะมียีนแฝง หรือเท่ากับเป็นพาหะร้อยละ 100
  • ในกรณีนี้จึงไม่มีลูกที่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย และไม่มีลูกที่เป็นปกติด้วย

ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคธาลัสซีเมียเพียงคนเดียวและอีกฝ่ายมียีนแฝง (เป็นโรค 1 คน เป็นพาหะ 1 คน)

  • ในการมีครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะป่วยเป็นโรคเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2
  • ในการมีครรภ์แต่ละครั้งโอกาสที่ลูกจะมียีนแฝงเท่ากับร้อยละ 50 หรือ 1 ใน 2
  • ในกรณีนี้จึงไม่มีลูกที่เป็นปกติเลย

การรักษา

  1. ให้รับประทานวิตามินโฟลิค (B9) วันละเม็ด
  2. ให้เลือดเมื่อผู้ป่วยซีดมากและมีอาการของการขาดเลือด
  3. ตัดม้ามเมื่อต้องรับเลือดบ่อยๆ และม้ามโตมากจนมีอาการอึดอัดแน่นท้อง กินอาหารได้น้อย
  4. ไม่ควรรับประทานยาบำรุงเลือดที่มีธาตุเหล็ก
  5. ผู้ป่วยที่อาการรุนแรงซีดมาก ต้องให้เลือดบ่อยมากจะมีภาวะเหล็กเกิน อาจต้องฉีดยาขับเหล็ก

 แบบประคับประคอง (Low Transfusion)

เพื่อเพิ่มระดับเฮโมโกลบินไว้ในระดับหนึ่ง ไม่ให้เด็กอ่อนเพลียจากการขาดออกซิเจน ซึ่งจะทำให้เด็กไม่เติบโต

 การให้เลือดจนหายซีด (High Transfusion)

ระดับเฮโมโกลบินสูงใกล้เคียงคนปกติ ซึ่งอาจต้องให้เลือดทุกสัปดาห์ 2-3 ครั้ง จนระดับเฮโมโกลบินอยู่ในเกณฑ์ดี และต่อไปจะให้สม่ำเสมอทุก 2-3 สัปดาห์ ภายใต้การควบคุมของแพทย์ ถ้าให้ตั้งแต่อายุน้อยในเด็กที่เป็นชนิดรุนแรง จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงของใบหน้าเด็ก เขาจะเติบโตมีรูปร่างแข็งแรงดี หน้าตาดี ตัวไม่เตี้ย ตับและม้ามไม่โต แพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ โดยระมัดระวังผลแทรกซ้อนจากการให้เลือดบ่อยและจะต้องให้ยาขับเหล็ก ซึ่งอาจสะสมได้จากการให้เลือดบ่อยครั้ง
นอกจากการให้เลือดดังกล่าว บางรายที่มีอาการม้ามโตมากจนต้องให้เลือดถี่ๆ จากการที่เม็ดเลือดแดงถูกทำลายในม้ามมาก ต้องตัดม้ามออกแต่จะมีการป้องกันการติดเชื้อที่อาจมีตามมาด้วย

ปลูกถ่ายไขกระดูก

โดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด ซึ่งนำมาใช้ในประเทศไทยแล้วประสบความสำเร็จ เช่นเดียวกับการปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งทำสำเร็จในประเทศไทยแล้วหลายราย เด็กๆ ก็เจริญเติบโตปกติเหมือนเด็กธรรมดา โดยหลักการคือ นำไขกระดูกมาจากพี่น้องในพ่อแม่เดียวกัน (ต่างเพศก็ใช้ได้) นำมาตรวจความเหมาะสมทางการแพทย์หลายประการ และดำเนินการช่วยเหลือ

การเปลี่ยนยีน

นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีทันสมัยล่าสุดคือการเปลี่ยนยีน ซึ่งกำลังดำเนินการวิจัยอยู่

แนวทางการป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

  • จัดให้มีการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ เพื่อจะได้มีความรู้ ความสามารถในการวินิจฉัย หรือให้คำปรึกษาโรคทาลัสซีเมียได้ถูกวิธี
  • จัดให้มีการให้ความรู้ประชาชน เกี่ยวกับโรคทาลัสซีเมีย เพื่อจะได้ทำการค้นหากลุ่มที่มีความเสี่ยง และให้คำแนะนำแก่ผู้ที่เป็นโรคทาลัทซีเมีย ในการปฏิบัติตัวได้อย่างถูกวิธี
  • จัดให้มีการให้คำปรึกษาแก่คู่สมรส มีการตรวจเลือดคู่สมรส เพื่อตรวจหาเชื้อโรคทาลัทซีเมีย และจะได้ให้คำปรึกษาถึงความเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดโรคทาลัทซีเมียได้ รวมถึงการแนะนำ และการควบคุมกำเนิดที่เหมาะสม สำหรับรายที่มีการตรวจพบว่าเป็นโรคทาลัสซีเมียแล้วเป็นต้น

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

วิธีแก้ปัญหาการนอนไม่หลับ


     การนอนหลับเป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับทุกคน สมองและร่างกายจะทำการซ่อมแซม คืนสภาพของตัวเราเมื่ออยู่ระหว่างการนอนลึก นั้นคือเหตุผลที่สำคัญที่ทำไมเราถึงต้องนอนให้ลึก โดยแพทย์แนะนำให้นอนอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่ายการแข็งแกร่ง และยังมีผลต่อความสวยความงานของร่ายกายอีกด้วย ซึ่งถ้าเรานอนน้อย อาจส่งผลให้ ดวงตาไม่ชุ่มชื่น และไม่มีแรงในการทำงาน การนอนยังเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนอีกหลายคน ซึ่งเป็นเหตุผลดังกล่าว

      ปัญหานอนไม่หลับ อาจทำให้ผู้ประสบปัญหาเกิดการกังวล และอาจเป็นผลสืบเนื่องทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับเรื้อรัง บางคนต้องพึ่งยานอนหลับซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรเด็ดขาด เพราะการกินยานอนหลับนั้นจะช่วยได้แค่เวลาอันสั้นเท่านั้น ซึ่งการใช้ยานอนหลับอาจช่วยคุณได้ในระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น โดยไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างถาวร

      การนอนหลับที่ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับทุกคน เพราะกาารนอนคือการให้สมองและร่างกายได้พักผ่อนคืนสภาพร่างกาย ซึ่งการนอนที่ดีควรจะเป็นการนอนหลับลึก โดยแพทย์แนะนำการน้อยให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและยังส่งผลต่อความสวยงานของร่างกายด้วย ซึ่งถ้าเรานอนน้อยอาจส่งผลโดยตรงกับร่างกาย เช่น ดวงตาไม่ชุ่มชื่น และไม่มีแรงทำงาน แต่การนอนหลับก็ถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนอีกหลายคนก็ว่าได้ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าโรคนอนไม่หลับ ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจเกิดจากความเครียด การกังวลใจ และเมื่อนอนไม่หลับติดต่อกันนานๆ อาจจะเกิดการนอนไม่หลับเรื้อรังก็เป็นได้ บางคนถึงกับต้องพึ่งยานอนหลับแต่รู้ไหมว่านั้นไม่ใช่ผลดีเลย เพราะการกินยานอนหลับจะช่วยได้แค่ระยะสั้นๆเท่านั้น ไม่ใช่การแก้ปัญหาได้อย่างถาวร
 
โรคนอนไม่หลับสามารถแก้ได้โดยมี 9 วิธีด้วยกัน
     1. ไม่ควรทานกาแฟ  เพราะการทานกาเฟจะทำมีคาแฟอีนตกค้างอยู่ในร่างกายซึ่งเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ
     2. จัดบรรยากาศให้สภาพห้องดูน่าอยู่ จัดของให้เป็นระเบียบ โดยอาจใช้กลิ่นน้ำหอม หรือวางแจกันดอกไม้สดไว้ในห้อง อากาศถ่ายเทได้ดี
     3. การอาบน้ำก่อนนอน โดยอาจจะเป็นการแช่น้ำอุ่นก่อนนอน และควรแช่ในระยะเวลาที่พอดี อย่าแชน้ำนานจนเกิดไปเพราะอาจทำให้รู้สึกเบื่อซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเครียดแถมขึ้นมาอีกก็ได้
     4. ใช้ยาสมุนไพร บางตัวที่ช่วยในการผ่อนคลายความเครียด และจะช่วยทำให้นอนหลับได้ดี เช่น ถั่งเฉ้า ซึ่งมีสรรพคุณช่วยระงับประสาท ทำให้นอนหลับสนิท
     5. ยืดเส้นยืดสาย คนที่ทำงานในลักษณะมีการเคลื่อนที่มักจะไปสบปัญหานอนกว่าคนที่ทำงานอยู่กับที่ เพราะการเคลื่อนที่จะสูญเสียพลังงานมาก ดังนั้นร่างกายจึงต้องการการผักผ่อนนั้นเอง ดังนั้นผู้ที่นอนหลับยาก ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 15 นาที ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนทำให้ผ่อนคลาย และนอนหลับง่ายขึ้น
     6. กินอาหารอย่างถูกวิธี ซึ่งไม่เหมาะแน่ถ้าจะให้ท้องว่างจนเกินไป หรือกินอิ่มเกินไป และไม่ควรกินอาหารหลัง 2 ทุ่ม และทางที่ดีควรไม่รับประทานอาหารประเภทเนื้อสัตว์ซึ่งเหมือนเป็นการกระตุ้นให้กับร่างกาย สิ่งที่ควรทานจะเป็นพวกข้าว ผักที่มีลำต้นที่อยู่ใต้ดิน ถั่วต่างๆ เป็นต้น
     7. ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย พยายามอย่าให้เกิดความเครียด โดยอาจจะหาเพลง หรือทำนองที่เบาๆ ฟังแล้วรู้สึกสบาย หรือไม่ก็หาเทปที่บันทึกเสียงธรรมชาติ เพื่อให้ร่างกายรู้สึกสงบ ไม่ควรเปิดไฟนอนเพราะไฟอาจจะทำให้คุณรู้สึกตื่นตัวได้
     8. อย่าอยู่บนที่นอนถ้านอนไม่หลับจริงๆ ถ้าคุณรู้สึกว่าคุณเริ่มตื่นตัวและนอนไม่หลับจริงๆแล้ว ให้คุณลุกขึ้นมาอย่านอนอยู่กับที่ เพราะนั้นจะทำให้คุณรู้สึกหงุดหงิด ไม่ควรเปิดทีวี อ่านหนังสือ หรือคิดเรื่องราวอะไรต่างๆนานา เพราะนั้นยิ่งทำให้คุณนอนไม่หลับยิ่งขึ้น สิ่งที่ควรทำคือหาเก้าอี้ที่นั่งสบายๆ แล้วทำจิตใจให้สงบ จนเกินความรู้สึกง่วงขึ้นมา
     9. ดื่มนมก่อนนอน เพราะนมบางตัวที่ช่วยให้นอนหลับสบาย และยังช่วยผ่อนคลายประสาท 

คำย่อที่ใช้ในการรักษาโรคที่ใช้กันทั่วไป

  • I&D ย่อมาจาก Incision and Drainage การผ่าเข้าไปและกรีดเอาหนองหรือสิ่งแปลกปลอมออกจากแผล
  • Explore lap. ย่อมาจาก Exploratory Laparotomy การผ่าเข้าไปในช่องท้องเพื่อผ่าตัดอวัยวะภายในช่องท้อง
  • TAH ย่อมาจาก Total Abdominal Hysterectomy การผ่าตัดมดลูกออกทั้งหมด
  • SO ย่อมาจาก Salphingo-oophorectomy การผ่าตัดรังไข่และปีกมดลูก

คำย่อที่ใช้ในการวินิจฉัยโรคที่ใช้กันทั่ว ๆ ไป

  • Fx ย่อมาจาก Fracture กระดูกหัก
  • Dx ย่อมาจาก Diagnosis การวินิจฉัยโรค
  • DHF ย่อมาจาก Dangue Hemorrahic Fever ไข้เลือดออกจากเชื้อ dangue (เป็นไวรัสชนิดหนึ่ง)
  • URI ย่อมาจาก Upper Respiratory Infection การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน
  • UTI ย่อมาจาก Urinary Tract Infection การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
  • DC ย่อมาจาก Dental Caries โรคฟันผุ
  • CDA ย่อมาจาก Chronic Dento Alveolar abscess เป็นฝีที่เหงือกเรื้อรัง (โรครำมะนาด)

คำย่อแผนกต่าง ๆ ของโรงพยาบาลที่เรียกกันทั่วไป

คำย่อแผนกต่าง ๆ ของโรงพยาบาลที่เรียกกันทั่วไป
  • ER ย่อมาจาก EMERGENCY ROOM ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
  • OR ย่อมาจาก OPERATING ROOM ห้องผ่าตัด
  • LR ย่อมาจาก LABOR ROOM ห้องคลอด
  • OPD ย่อมาจาก OUTPATIENT DEPARTMENT แผนกผู้ป่วยนอก
  • MED ย่อมาจาก MEDICINE อายุรกรรม(การรักษาด้วยยา)
  • SUR ย่อมาจาก SURGICAL ศัลยกรรม(การรักษาด้วยการผ่าตัด)
  • ORTHO ย่อมาจาก ORTHOPEDIC ศํลยกรรมกระดูก(การรักษาโรคกระดูกด้วยยาหรือการผ่าตัด)
  • OB-GYN ย่อมาจาก OBSTRETIC GYNECOLOGY สูติ-นรีเวชกรรม(การรักษาโดยเฉพาะสตรีและการตั้งครรภ์)
  • ANC ย่อมาจาก Ante natal care การดูแลก่อนคลอด
  • IPD ย่อมาจาก INPATIENT DEPARTMENT แผนกรักษาผู้ป่วยใน
  • ENT ย่อมาจาก Ear Nose Throat แผนกที่รักษาเกี่ยวกับโรค หู คอ จมูก
  • ICU ย่อมาจาก Intensive Care Unit หออภิบาลผู้ป่วยหนักรวม
  • CCU ย่อมาจาก Coronary Care Unit หออภิบาลผู้ป่วยหนักเฉพาะโรคหัวใจ

โรคเบาหวาน

     เบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงหรือต่ำเกินไปจนทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินต่อร่างกาย[2] โรคนี้มีความรุนแรงสืบเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม โดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานจะไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
ชนิดและสาเหตุ
เบาหวาน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 1 สาเหตุของโรคเบาหวาน[4] ชนิดที่ 1 เกิดจากภูมิต้านทานของร่างกายทำลายเซลล์ที่สร้างอินซูลินในตับอ่อน ทำให้ร่างกายหยุดการสร้างอินซูลิน ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 จึงจำเป็นต้องฉีดอินซูลิน เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดระยะยาว แม้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายอย่างแน่ชัดว่า ทำไมภูมิคุ้มกันของร่างกายจึงทำลายเซลล์ของตับอ่อน แต่เราก็ทราบว่าปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงให้กับโอกาสการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 คือ การได้รับสารพิษ,การติดเชื้อ, การแพ้นมวัวโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบชัดเจน แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักตัวมาก การขาดการออกกำลังกาย และวัยที่เพิ่มขึ้น เซลล์ของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายยังคงมีการสร้างอินซูลิน แต่ทำงานไม่เป็นปกติเนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ที่สร้างอินซูลินค่อยๆถูกทำลายไป บางคนเริ่มมีภาวะแทรกซ้อนโดยไม่รู้ตัว และต้องการยาในการรับประทาน และบางรายต้องใช้อินซูลินชนิดฉีด เพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือด
  • อาการ
    ถ้าหากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรปรึกษาแพทย์
    • ปัสสาวะมากขึ้นและบ่อยครั้งขึ้น
    • ปัสสาวะกลางคืนบ่อยขึ้น (ระหว่างช่วงเวลาที่เข้านอนแล้วจนถึงเวลาตื่นนอน)
    • หิวน้ำบ่อยและดื่มน้ำในปริมาณที่มากๆ
    • เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง
    • น้ำหนักตัวลดโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะถ้าหากน้ำหนักเคยมากมาก่อน
    • ติดเชื้อบ่อยกว่าปกติ เช่น ติดเชื้อทางผิวหนังและกระเพาะอาหาร
    • สายตาพร่ามองเห็นไม่ชัดเจน
    • เป็นแผลหายช้า
    โดย เบาหวานชนิดที่ 2 อาจจะมีอาการเหล่านี้บางอย่าง หรืออาจไม่มีอาการเหล่านี้เลย
  • อาการแทรกซ้อน
    • ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)
    เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปใน endothelium ของ หลอดเลือดเล็กๆ ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีนซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane มากขึ้น ทำให้ Basement membrane หนา แต่เปราะ หลอดเลือดเหล่านี้จะฉีกขาดได้ง่าย เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ Macula บวม ซึ่งจะทำให้เกิด Blurred vision หลอดเลือดที่ฉีกขาดจะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมายจนบดบังแสงที่มาตกกระทบยัง Retina ทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยแย่ลง
    • ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)
    พยาธิสภาพของหลอดเลือดเล็กๆ ที่ Glomeruli จะทำให้ Nephron ยอมให้ albumin รั่วออกไปกับ filtrate ได้ Proximal tubule จึงต้องรับภาระในการดูดกลับสารมากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นนานๆ ก็จะทำให้เกิด Renal failure ได้ ซึ่งผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 2- 3 ปี นับเข้าสู่ภาวะไตวายระยะสุดท้าย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี
    • ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy)
    หากหลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพ ก็จะทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ เมื่อผู้ป่วยมีแผล ผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับเลือดผู้ป่วยมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า และนำไปสู่ Amputation ในที่สุด
    • โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)
    • แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer)
    • การรักษา
      2.1.6 การรักษาโรคเบาหวานในผู้สูงอายุมีเป้าหมาย คือ
      1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมตลอดชีวิต คือประมาณ 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด แต่อย่างไรก้ตามปัจจุบันเราได้ใช้ค่าน้ำตาลแบบฮีโมโกลบินเอวันซีในการประเมินผู้ป่วยเบาหวาน ค่าฮีโมโกลบินเอวันซี ที่เหมาะสมคือต่ำกว่าร้อยละ 7
      2. ป้องกันหรือชะลอโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น (สมอง ใจ ไต ตา ชา แผล)
      3. เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย คือให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขและมีคุณภาพ
      4.นอกจากนี้เรายังจำเป็นต้องควบคุมระดับความดันโลหิต โดยระดับความดันโลหิจที่เหมาะสม คือ น้อยกว่า 130/90 มิลลิเมตร ปรอท และระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติอีกด้วย โดยดูจากระดับไขมันความหนาแน่นต่ำ ต้องน้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
      ดังนั้นการรักษาโรคเบาหวานจะต้องอาศัยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยา ซึ่งทั้งนี้ต้องการกำลังใจของผู้สูงอายุและความร่วมมือจากญาติพี่น้องหรือผู้ดูแล การใช้ยารักษาจะเริ่มเมื่อผู้ป่วยสูงอายุไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้บรรลุเป้าหมายด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย การใช้ยาจึงมีความสำคัญมากต่อชีวิตผู้ป่วยเบาหวานในปัจจุบันซึ่งมีวิถีชีวิตที่แตกต่างจากในอดีต โดยทั่วไปแพทย์จะให้ยาที่เหมาะสมคือออกฤทธิ์ไม่แรงและหมดฤทธิ์เร็ว เริ่มจากขนาดยาต่ำๆ ก่อน มีวิธีการใช้ยาที่ง่ายและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่ใช้ยาจะต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายร่วมด้วยเสมอ ผู้จะต้องใช้ยาตลอดชีวิตเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและอาการของโรคเบาหวานตามเป้าหมายที่กำหนด ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรผู้ป่วยสูงอายุจึงจะอยู่กับโรคเบาหวานและการใช้ยาอย่างมีความสุข

โรคลูคีเมียหรือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาว (ชมรมฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็งแห่งประเทศไทย)

          เราอาจจะเคยได้ยินคำว่า ลูคีเมีย มาบ้างแล้ว โดย ลูคีเมีย คือ มะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นชนิดใหญ่ ๆ 2 ชนิด คือ ชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง

1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (Acute leukemias)

          เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดตัวอ่อนอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติได้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักเกิดกับเด็ก โดยผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอาจจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตภายในไม่กี่เดือน

2. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (Chronic leukemia)

          เกิดจากการที่ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติออกมาเป็นจำนวนมากกว่าเซลล์เม็ดเลือดที่ปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติในร่างกายเป็นจำนวนมาก โดยปกติแล้วมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง มักจะเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ในหลาย ๆ ช่วงอายุ

นอกจากนี้ มะเร็งเม็ดเลือดขาวยังสามารถแบ่งได้ตามลักษณะของเม็ดเลือดขาว ได้แก่

          Lymphocytic leukemia คือ การที่พบเซลล์ในสาย Lymphoid ได้แก่ ลิมโฟไซท์ (Lymphocytes) และพลาสมาเซลล์ (plasma cells) ที่ผิดปกติเป็นจำนวนมากในกระแสเลือด

          Myelogenous leukemia คือ การที่พบเซลล์ที่ผิดปกติในสายไมอีลอยด์ ได้แก่ eosinophils, neutrophils, และ basophils เพิ่มมากขึ้นในกระแสเลือด

ดังนั้นเราจะพบมะเร็งเม็ดเลือดขาวตามชนิดและแบบได้ใหญ่ ๆ 4  อย่างคือ
      
          1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบไมอีลอยด์ (acute myeloid leukemia  หรือ AML) พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
      
          2. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบลิมฟอยด์ (acute lymphoid leukemia หรือ ALL) พบได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี รวมถึงในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีอีกด้วย

          3. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ (chronic myeloid leukemia หรือ CML) พบในผู้ใหญ่ ไม่ค่อยพบในเด็ก

          4. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบลิมฟอยด์ (chronic lymphocytic leukemia หรือ CLL) พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี และสามารถพบในเด็กได้บ้าง แต่ไม่ค่อยส่งผลกระทบเท่าไหร่

          เนื่องจากในผู้ป่วยผู้ใหญ่ในประเทศไทยส่วนใหญ่ จะพบมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบไมอีลอยด์ (AML) และมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ (CML) ดังนั้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ 2 โรคนี้เท่านั้น

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันแบบไมอีลอยด์ (AML)

          มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการที่เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก ไม่สามารถเจริญเติบโต (differentiate) ไปเป็นเซลล์ตัวแก่ได้ แต่มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวน (proliferation) ในระยะของเซลล์ตัวอ่อนในไขกระดูกเป็นจำนวนมาก และขยายตัวออกมาในกระแสเลือดหรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ ทำให้เกิดอาการและอาการแสดงต่าง ๆ เป็นผลให้ไขกระดูกไม่สามารถผลิตเซลล์เม็ดเลือดปกติได้ ไม่ว่าจะเป็นเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ ตลอดจนเกล็ดเลือด ทำให้ผู้ป่วยมีอาการจากการขาดเซลล์เม็ดเลือดดังกล่าว

          อุบัติการณ์ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน ในประชากรทั่วไปเท่ากับ 2-3 ราย ต่อประชากร 100,000  คน ต่อปี ส่วนใหญ่พบในคนที่อายุมากกว่า 15 ปี พบเป็นร้อยละ 70-80  ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันในผู้ใหญ่

สาเหตุ 

ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ได้แก่

          1. พันธุกรรม อุบัติการณ์ของการเกิดโรคในพี่น้องของผู้ป่วยพบสูงกว่าประชากรทั่วไป 3 เท่า ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางโครโมโซมแต่กำเนิด เช่น ดาวน์ชินโดรม จะมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคสูงกว่าคนปกติ

          2. สารรังสี  ประชากรญี่ปุ่นที่รอดชีวิตจากการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา และนางาซากิ พบว่า มีอุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน มากกว่าคนปกติ ถึง  30  เท่า
  
          3. สารเคมี ผู้ป่วยที่ได้รับสารเบนซิน จะมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคสูงกว่าคนทั่วไป 10 เท่า  นอกจากนี้ยาฆ่าแมลง ยาย้อมผม หรือน้ำยาสเปรย์ผม ก็พบอุบัติการณ์ของโรคสูงขึ้นด้วย

          4. ยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดจะมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคสูงขึ้น

          5. บุหรี่ การศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า บุหรี่สามารถเพิ่มอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันได้

          อย่างไรก็ตาม ปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้น เป็นเพียงปัจจัยเสี่ยงเท่านั้น ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีปัจจัยดังกล่าวจะเกิดโรคเสมอไป คงมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง

การพยากรณ์โรค

          1. อายุ  ผู้ป่วยที่มีอายุน้อยจะมีการพยากรณ์โรคดีกว่าผู้ป่วยที่มีอายุมาก

          2. ความผิดปกติทางสารพันธุกรรม พบว่าใน AML สามารถบอกการพยากรณ์โรคของผู้ป่วยได้ตามโครโมโซมที่พบ ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

              2.1 กลุ่มที่มีการพยากรณ์โรคดี ได้แก่ พวกที่มี  t(8;21); t(15;17) และ inv(16)

              2.2  กลุ่มที่การพยากรณ์โรคปานกลาง ได้แก่ กลุ่มที่มีโครโมโซมปกติ หรือความผิดปกติอื่น ๆ  นอกจากข้อ  2.1,  2.3 กลุ่มที่มีพยากรณ์โรคไม่ดี ได้แก่ คนที่มี  -7, 7q-, -5, 5q-, 11q23, 3q21, +8, พวกที่มี multiple chromosome abnormalities หรือรายที่เป็น  MDS  นำมาก่อน

 อาการและอาการแสดง

          อาการซีดและเหนื่อยง่าย เป็นอาการสำคัญที่พบบ่อยมาก เหตุจากการที่ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ตามปกติ

          อาการเลือดออกง่าย มีสาเหตุมาจากเกล็ดเลือดต่ำ เนื่องจากไขกระดูกสร้างได้น้อยลง จะพบจุดเลือดออกบริเวณแขนขา เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ประจำเดือนออกมาก อาจมีเลือดออกในจอประสาทตา ทำให้ตามัวได้  ถ้ามีภาวะเลือดออกในสมองมักจะรุนแรงและทำให้เสียชีวิตได้

          อาการไข้ มักเป็นอาการสำคัญที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ อาจจะมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ  หรือเกิดจากตัวโรคเอง

          เหงือกบวมโต (gum hypertrophy) พบได้ประมาณร้อยละ  25-50 ของผู้ป่วย

          น้ำหนักลด เป็นอาการแสดงสำคัญ พบได้ถึงร้อยละ  70  ของผู้ป่วย

          อาการปวดกระดูกหรือปวดตามข้อ ในระยะแรกมักจะพบน้อย แต่พบได้บ่อยในระยะที่โรคลุกลามไปมาก

          อาการทางสมอง มักจะมีการดำเนินโรครุนแรงจนทำให้เสียชีวิต มีอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ 10-30 ผู้ป่วยอาจจะมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน คอแข็ง อัมพาตของเส้นประสาท เป็นต้น

เกณฑ์การวินิจฉัย

          เกณฑ์การวินิจฉัยที่สำคัญ คือ การพบเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (blast cells) อย่างน้อยร้อยละ 30  ของเซลล์ทั้งหมดในไขกระดูก

การรักษา

          1. การรักษาแบบประคับประคอง (supportive care) หมายถึงการรักษาอย่างอื่น ๆ  นอกเหนือจากการให้เคมีบำบัด

          1.1. การให้ส่วนประกอบของเลือด

          ให้เกล็ดเลือดเข้มข้น เพื่อให้ระดับของเกล็ดเลือดในเลือดสูงเกิน 20 x 109/ลิตร
- ให้เม็ดเลือดแดงเข้มข้น เมื่อผู้ป่วยซีดหรือระดับ Hct ต่ำกว่า  24-25%  ในรายที่อายุน้อย  หรือต่ำกว่า  28-30 %  ในรายที่อายุน้อยมาก

          1.2. ผู้ป่วยที่มีไข้มากกว่า 38 องศาเซลเซียส และมีจำนวนของเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil  ต่ำกว่า 0.5 x 109/ลิตร แพทย์จะทำการสืบค้นเบื้องต้นเพื่อหาตำแหน่งของการติดเชื้อ แล้วพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะชนิดครอบคลุมกว้างขวางเข้าหลอดเลือดดำ

          1.3. ผู้ป่วยที่มีกรดยูริคสูง จะให้ยาต้านกรดยูริค (allopurinal)  300 มก/วัน  แต่มีผลข้างเคียงที่ควรระวังในผู้สูงอายุหรือมีโรคไต

          1.4. พิจารณาการแยกส่วนประกอบของเลือด โดยแยกเฉพาะเม็ดเลือดขาวออก (leukapheresis)  ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวมากกว่า 100 x 109/ลิตร  หรือมีอาการของอวัยวะต่างๆ ขาดเลือดจากการที่เม็ดเลือดขาวจำนวนมากไปอุดตันการไหลเวียนของเลือด เช่น มีอาการทางปอด มีหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หรืออาการทางสมอง เช่น ปวดศีรษะ ซึม สับสน หรือ ชัก เป็นต้น

          2. การรักษาเฉพาะโรค แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ

          2.1. การรักษาเพื่อชักนำให้โรคสงบสมบูรณ์ (Induction of remission) เป็นการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าสู่ระยะโรคสงบสมบูรณ์  (Complete remission  หรือ CR ) ยาเคมีบำบัดมาตรฐานในปัจจุบันคือ สูตร 3+7  ได้แก่การให้ anthracycline (doxorubicin หรือ idarubicin) ทางหลอดเลือดดำ 3 วัน ร่วมกับ cytosine arabinoside ทางหลอดเลือดดำ 7 วัน พบว่า ประมาณร้อยละ 50-70 ของผู้ป่วยสามารถเข้าสู่ระยะ CR ได้

          การที่จะบอกว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะ CR หรือไม่นั้นอาศัยดูจากทางคลินิกว่า ผู้ป่วยอาการต่าง ๆ หายเป็นปกติ การตรวจร่างกาย ผลการตรวจเลือดกลับมาอยู่ในเกณฑ์ปกติหมด ที่สำคัญคือ การตรวจไขกระดูกพบเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ปกติ และพบเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (blast cell) น้อยกว่าร้อยละ 5 ของเซลล์ทั้งหมด

          การที่ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะ CR ไม่ได้หมายความว่าเซลล์มะเร็งจะหมดไปจากร่างกาย แต่ว่ามีอยู่ในจำนวนที่น้อยเกินกว่าที่วิธีตรวจทางห้องปฏิบัติการธรรมดาจะตรวจได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้เคมีบำบัด หลังจากที่ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะ CR แล้ว เพื่อให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคจริง ๆ

          2.2. การรักษาระยะหลังโรคสงบ (post remission therapy) เป็นการรักษาเพื่อป้องกันไม่ให้โรคกลับมาอีก  (relapse)  และเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังคงเหลืออยู่ให้หมดไปจากร่างกาย ทำได้หลายทาง

          - Consolidation therapy  เป็นการให้ยาเคมีบำบัดในลักษณะเดียวกับใน induction of remission แต่ให้ติดต่อกัน  3-4 ครั้ง  ห่างกันทุก  1-2  เดือน

          - Intensification การรักษาแบบเข้มข้น คือการให้เคมีบำบัดในขนาดสูงกว่า induction of remission  เพื่อหวังกำจัดเซลล์มะเร็งที่ยังเหลืออยู่ที่อาจเป็นเซลล์ดื้อยา

          การให้ยาเคมีบำบัดในขนาดสูงอาจจะร่วมกับการฉายรังสี และตามด้วยการให้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด) โดยเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดอาจมาจากพี่น้องที่มีเนื้อเยื่อเข้ากันได้  (HLA-matched sibling donor) เรียกว่า allogeneic stem cell transplant หรืออาจจะมาจากตัวผู้ป่วยเอง โดยเก็บไว้ในระยะที่โรคสงบสมบูรณ์ เรียกว่า  autologous stem cell transplant โดยทั่วไป ถ้าได้รับจากผู้อื่นจะมีปัญหาแทรกซ้อนมากกว่า  แต่จะมีผลในแง่อัตราของโรคกลับมาเป็นใหม่น้อยกว่า  เมื่อเทียบกับที่ใช้เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดของตัวผู้ป่วยเอง

โรคปอดอักเสบ หรือ นิวมเนีย

มักเกิดกับคนที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรือผู้ที่อยู่ในภาวะร่างกายอ่อนแอ
สาเหตุ จะเกิดจากการอักเสบของเนื้อปอด ทำให้ปอดทำหน้าที่ ได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากการอักเสบ บวม มีหนองขัง ผู้ป่วยจึงหายใจสดุด หรือหายใจหอบเหนื่อย อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ นับเป็นโรคร้ายแรงเฉียบพลันชนิดหนึ่ง แต่สามารถรักษาให้หายขาดได้  
สำหรับเชื้อที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบนี้นะครับ เกิดจากเชื้อหลายชนิด นับตั่งแต่ตระกูลไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และพยาธิต่างๆ ที่สำคัญและพบได้บ่อยคือ โรคปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมคอคคัส นิวโมเนีย
โรคนี้จะเป็นโรคที่พบได้ทั่วไปมากกว่าโรคปอดชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุมักเป็นโรคนี้ได้ง่าย มักพบในเมืองที่มีโรงงานอุตสาหกรรม และมีผู้คนอยู่หนาแน่น โรคนี้จะสามารถเกิดได้ทุดฤดูการ แต่จะเกิดมากในช่วงฤดูหนาวโดยมีผู้ป่วยเป็นพาหะ
สำหรับการติดต่อของโรคนี้นะครับ ก็จะมีตั่งแต่ การหายใจ โดยเชื้อโรคผ่านเข้าทางจมูก  การสำลักเอาสารเคมี
ระยะฟักตัวของโรคนี้คือประมาณ 1-3 วัน
สำหรับอาการของโรคนี้คือ จะเริ่มด้วยอาการเฉียบพลัน หนาวสั่นมีไข้เจ็บหน้าอก ไอ หายใจหอบ มักพบว่าเกิดการอักเสบของหลอดลมมากกว่าปอด อาการในเด็กอาจรุ่นแรงมาก
การตรวจวินิจฉัยของโรคนี้ดังนี้
  1. ส่งเสมหะและโลหิตไปเพาะเชื้อย้อมสีแกรม จะพบเชื้อนิววโมคอคคัส
  2. เอ็กซเรย์จะพบอาการอักเสบในเนื้อเยื่อของปอดทั่วทั้งก้อนปอด
  3.   ผู้ป่วยจะมีโลหิตขาวสูงกว่ามาก
การรักษาพยาบาลโรคนี้ ให้อยู่ในการดูแลของแพทย์ รักษาตามอาการ เช่นให้ออกซิเจน น้ำเกลือ ยา  อาการเหลวที่มีแคลลอรี่สูง และวิตามิน
ยาที่ใช้รักษา ได้แก่ โปรเคน เพนิซิลลิน เทตราซัลคลิน อีริธโทรมัยซิล นอกจากนี้ยังมียาที่รักษาตามอาการ เช่นยา แก้ปวด แก้ไอ แก้ไข้ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
อาจมีโรคแทรกซ้อน คือ มีน้ำในช่องปอก มีหนองในช่องปอดหรือหนองในปอด ร่วมกับการอุดตันของหลอดลม เยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
โรคที่มีอาการใกล้เคียงกับโรคนี้คือ หลอดลมฝอยอักเสบ โรคต่างๆ ที่เกิดจาการเป็นมะเร็งปอด คอตีบ(มักพบในเด็ก)
 - เมื่อทราบว่าเป็นโรคปอดอักเสบนอกจากจะรีบไปพบแพทย์แล้วควรกระทำอีกคือ ระวังรักษาสุขภาพ เพื่อไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อน ระมัดระวังไม่ให้กลับเป็นโรคอีก
@ เนื้อหาเหล่านี้ผมได้ทำการสรุปจากหนังสือ ชื่อ การควบคุมและการป้องกัน โรคติดต่อ โดยคณาจารย์ชมรมเด็ก เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาเผยแพร่ให้ทราบครับ